หลักสูตรมัธยมศึกษา


2.2 หลักสูตรระดับมัธยมศึกษา

                        2.1.1 หลักสูตรวิชาภาษาไทย
หลักสูตรระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ได้กำหนดจุดประสงค์ทั่วไปในวิชาภาษาไทย  ดังนี้
     1. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องหลักของภาษา
     2.เพื่อให้สามารถใช้ภาษาได้ถูกต้องเหมาะสมกับวัย
     3.เพื่อให้สามารถฟังและอ่านได้อย่างมีวิจารณญาณ
     4. เพื่อให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีนิสัยรักการอ่าน การเขียน  และมีรสนิยมในการเลือกอ่านหนังสือ
     5.เพื่อให้เห็นความสำคัญของภาษาไทยในฐานะเป็นเครื่องมือสื่อสารของคนในชาติและเป็นปัจจัยในการสร้างเสริมเอกภาพของชาติ
     6. เพื่อให้เห็นคุณค่าในวรรณคดี และงานประพันธ์ที่ใช้ภาษาอย่างมีรสนิยมในฐานะที่เป็นวัฒนธรรมของชาติ
     7.เพื่อให้สามารถใช้ภาษาเป็นเครื่องมือแสวงหาความรู้เพิ่มเติม
ส่วนรายวิชาต่างๆ เช่น หลักภาษาเพื่อการสื่อสารนั้นให้ศึกษาการใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารในชีวิตประจำวันเกี่ยวกับรูปลักษณ์ของคำไทยชนิดต่างๆ ที่ใช้อยู่ในประโยครูปแบบต่างๆ เพื่อให้สามารถเรียบเรียงข้อความทั้งในการพูดและการเขียนได้อย่างถูกต้องตามหลักภาษาและหลักความนิยม

            2.1.2 หลักสูตรวิชาภาษาอังกฤษ
หลักสูตรระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สำหรับรายวิชาเรียนภาษาอังกฤษได้กำหนดสังเขปรายวิชาไว้ดังนี้
               ภาษาอังกฤษหลัก  1 ภาษาอังกฤษหลัก 2
           สำรวจความสามารถพื้นฐานในด้านการฟัง พูด อ่าน เขียน โดยใช้ศัพท์ใกล้ตัวและโครงสร้างพื้นฐานของภาษา ฟังประโยค และข้อความสั้นๆ พูดสื่อความเกี่ยวกับชีวิตประจำวันอ่านออกเสียง อ่านบท อ่านสั้นๆ เขียนคำและประโยค เพื่อให้มีความพร้อม ความสนใจและมีทักษะเบื้องต้นในการสื่อความหมาย และเป็นพื้นฐานในการเรียนภาษา
                ภาษาอังกฤษหลัก  3 ภาษาอังกฤษหลัก 4
            ฝึกการฟัง พูด อ่าน เขียน โดยใช้ศัพท์และโครงสร้างที่เพิ่มขึ้น ฟังบทสนทนาข้อความสั้นๆ พูดสื่อความเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน อ่านออกเสียง อ่านบทสนทนาที่ยาวขึ้น เขียนบรรยายและเขียนเล่าเรื่องสั้นๆ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ และความสนใจในการใช้ภาษาและเลือกใช้ภาษาในการสื่อความหมายในสถานการณ์ต่างๆ
    ภาษาอังกฤษหลัก  4 ภาษาอังกฤษหลัก 5
            ฝึกการฟัง พูด อ่าน เขียน โดยใช้ศัพท์และโครงสร้างที่ซับซ้อนขึ้น ฟังบทสนทนา เรื่องเล่าและข้อความต่างๆ พูดสื่อความเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน บรรยายและเล่าเรื่องสั้นๆ อ่านออกเสียง อ่านบทอ่านที่มีระดับความยากง่ายที่สูงขึ้น เขียนบรรยาย เขียนเล่าเรื่อง กรอกแบบฟอร์มและเขียนจดหมายส่วนตัว เพื่อให้ใช้ภาษาในการสื่อความหมายได้กว้างขวาง เหมาะสมกับกาลเทศะและเห็นประโยชน์ของการเรียนภาษา
            นอกจากนี้อาจเรียนเพิ่มเติมจากเสริมทักษา เช่น
            ฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน เพิ่มเติมจากที่ได้เรียนในวิชาหลัก โดยการจัดกิจกรรมเพื่อให้สามารถใช้ทักษะได้อย่างคล่องแคล่วและแม่นยำยิ่งขึ้น
            ฝึกทักษะการฟัง-พูดจากสิ่งที่อ่าน ฟัง และพบเห็นในสถานการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันและงานอาชีพ เพื่อให้สามรถสื่อสารด้านการฟัง-พูด ได้คล่องแคล่วและแม่นยำยิ่งขึ้น เหมาะสมกับโอกาสและสถานการณ์ต่างๆ
ฝึกทักษะการอ่าน โดยอ่านคำแนะนำ ประกาศ บทความ บทร้อยกรองและอ่านหนังสือประเภทความรู้ความบันเทิง เพื่อให้สามารถแสวงหาความรู้ และความเพลิดเพลินจากการอ่าน
ฝึกทักษะการเขียน โดยกรอกแบบฟอร์ม เขียนเรียงความ เขียนจดหมายส่วนตัว จดหมายธุรกิจ เพื่อให้สามารถเขียนสื่อความได้อย่างเหมาะสมตามควรแก่วัย
หลักสูตรระดับมัธยมตอนปลาย ได้กำหนดจุดประสงค์ทั่วไปในรายวิชาภาษาไทย ดังนี้
1.เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องหลักภาษาและการใช้ภาษาในการสื่อสาร
            2.เพื่อให้สามารถใช้ภาษาติดต่อสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิผล
            3.เพื่อให้สามารถฟังและอ่านได้อย่างมีวิจารณญาณ
            4.เพื่อให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีนิสัยรักการอ่าน การเขียน และมีรสนิยมในการเลือกหนังสือ
            5.เพื่อให้เห็นความสำคัญของภาษาไทยในฐานะเป็นเครื่องมือสื่อสารของคนในชาติ และมีความภาคภูมิใจในภาษาไทย
            6.เพื่อให้ตระหนักในคุณค่าของวรรณคดีที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมและที่สร้างสรรค์ขึ้นในปัจจุบัน
            7.เพื่อให้สามารถใช้ภาษาเป็นเครื่องมือแสวงหาความรู้เพิ่มเติม
ส่วนวิชาบังคับแกน ภาษาไทย เช่น
ฝึกการฟัง พูด อ่าน เขียนในรูปแบบต่างๆ ที่มีเนื้อหาซับซ้อนขึ้น โดยเน้นการวิเคราะห์เนื้อหาสาระ และการใช้ภาษาสื่อความหมายได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน และกะทัดรัด เพื่อให้สามารถใช้ภาษาในเชิงวิจารณ์ได้อย่างสมเหตุสมผล  มีประสิทธิภาพ สุภาพ เหมาะสม กับสภาพการณ์เห็นคุณค่าและความงามของภาษา
ฝึกการฟัง พูด อ่าน เขียนในรูปแบบต่างๆ ที่มีเนื้อหาซับซ้อนยิ่งขึ้น โดยเน้นการใช้ภาษาที่กะทัดรัดและสละสลวย และการใช้ภาษาสื่อความคิด เพื่อให้สามารถเลือกใช้ถ้อยคำ สำนวนได้เหมาะสมกับเนื้อหาและความคิด ใช้ภาษาได้อย่างสุภาพ เหมาะสม กับสภาพการณ์เห็นคุณค่าและความงามของภาษา
ศึกษาหลักวิธีการในการพูด ฝึกการพูดในรูปแบบของการสนทนา การสัมภาษณ์ การพูดในที่ประชุม การอภิปรายในกลุ่มและในที่ประชุม และการอ่านให้ที่ประชุมฟัง เพื่อพัฒนาสมรรถภาพในการพูดของตนเองให้ถูกต้องตามหลักการและวิธีการ มีจรรยาบรรณ ความรับผิดชอบ และคุณธรรมในการพูด
อ่านข้อความประเภทต่างๆ และวรรณกรรมในรูปแบบต่างๆ ทั้งบันเทิงคดี และสารคดีที่เป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง พิจารณาแยกข้อเท็จจริงออกจากความคิดเห็น แยกองค์ประกอบของวรรณกรรม เพื่อให้สามารถแสดงความคิดเห็นเชิงวิจารณ์ในเรื่องที่อ่าน เข้าใจสารของผู้แต่ง และเห็นคุณค่าของวรรณกรรมที่อ่าน
ฝึกเขียนในรูปแบบต่างๆ โดยเน้นการลำดับความให้ผู้อ่านได้รับสารอย่างชัดเจน เลือกใช้โวหารให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่องและโอกาส และอาจให้เขียนบทร้อยกรองอย่างง่ายๆ แสดงความคิดและความรู้สึก เพื่อเพิ่มพูนทักษะการเขียนในรูปแบบต่างๆ สามารถเขียนแสดงความต้องการ ความคิดและความรู้สึกได้ถูกต้องตามมารยาทและธรรมเนียมนิยม
ฝึกเขียนบทสนทนาที่แสดงอารมณ์และความรู้สึกต่างๆ โดยใช้จินตนาการหรือกำหนดสถานการณ์ขึ้น
ฝึกเขียนบทความสั้นๆ แสดงความคิดเห็นหรืออาจฝึกเขียนบรรยายประสบการณ์พรรณนาทัศนียภาพ หรืออาจเขียนในรูปแบบอื่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น