หลักสูตรระดับประถมศึกษา

1.หลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับทักษะการสื่อสาร

1.1 หลักสูตรระดับประถมศึกษา

                        1.1.1 หลักสูตรวิชาภาษาไทย
                        กรมวิชาการ (2535) กำหนดจุดประสงค์ทั่วไปของวิชาภาษาไทยในระดับประถมศึกษาไว้ ดังนี้
            ภาษาไทยมีความสำคัญทั้งในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติ เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารและเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ  การเรียนการสอนภาษาไทยมุ่งให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทางภาษาทั้งในด้านการฟัง พูด อ่าน เขียน ตามควรแก่วัย เห็นคุณค่าของภาษา สามารถใช้เป็นเครื่องมือสื่อความคิด ความเข้าใจ รักการอ่าน แสวงหาความรู้ แลละมีเหตุผล จึงต้องปลูกฝังให้มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้
       1.มีทักษะในการฟัง พูด อ่าน เขียน โดยมีความรู้ความเข้าใจหลักเกณฑ์อันเป็นพื้นฐานของการเรียนภาษา
       2.สามารถใช้ภาษาติดต่อสื่อสาร ทั้งการรับรู้และถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดอย่างมีประสิทธิภาพและสัมฤทธิผล
       3.สามารถใช้ภาษาได้ถูกต้องเหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล ตลอดจนสามรถใช้ภาษาในเชิงสร้างสรรค์ได้
       4.มีนิสัยรักการอ่าน รู้จักเลือกหนังสืออ่านและใช้เวลาว่างในการแสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากหนังสือ สื่อมวลชน และแล่งความรู้อื่นๆ
       5.สามารถใช้ประสบการณ์จากการเรียนภาษาไทยมาช่วยคิด ตัดสินใจ แก้ปัญหาและวินิจฉัยเหตุการณ์ต่างๆ อย่างมีเหตุผล
       6.มีความรู้ ความเข้าใจ และเจตคติที่ถูกต้อง ต่อการเรียนภาษาไทยและวรรณคดีทั้งในด้านวัฒนธรรมประจำชาติ และการสร้าเสริมความงดงามในชีวิต การฝึกให้นักเรียนทำกิจกรรมต่างๆ โดยแบ่งตามระดับชั้น คือ ป.1-2, ป.3-4 และ ป.5-6 เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ดังนี้คือ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-4
1.การเตรียมความพร้อม เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามคำสั่งได้ พูดแสดงความต้องการ สามารถสังเกต และจัดหมวดหมู่สิ่งของต่างๆ มีทักษาในการใช้ตา กล้ามเนื้อมือและกล้ามเนื้ออื่นๆ ให้สัมพันธ์กัน สามรถแสดงออกทางอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม
2.การฟัง เพื่อให้เข้าใจเรื่องที่ฟัง สามารถจับใจความสำคัญและตอบคำถามได้ มีนิสัยและมารยาทที่ดีในการฟัง สามารถใช้ทักษะการฟังในการเพิ่มพูนความรู้ ความคิดและประสบการณ์ทางภาษา หาความรู้และความบันเทิงจากการฟังได้
3.การพูด เพื่อให้มีทักษะในการพูด สนทนา เล่าเรื่อง รายงาน อภิปราย พูดได้ชัดเจนถูกต้อง และสื่อความได้ มีมารยาทในการพูด และใช้ทักษะการพูดเพื่อความบันเทิงได้
4.การอ่าน เพื่อให้มีทักษะในการอ่านในใจและอ่านออกเสียง อ่านได้ถูกต้องชัดเจน มีความเข้าใจในการอ่าน สามารถจับใจความสำคัญและตอบคำถามได้ รู้หลักเกณฑ์ง่ายๆ เกี่ยวกับการอ่าน และนำไปใช้ได้ มีนิสัยที่ดีในการอ่าน และรักการอ่าน
5.การเขียน เพื่อให้มีทักษะในการเขียน เขียนได้ถูกต้อง สวยงาม สื่อความได้ สามารถคิดลำดับเหตุการณ์เกี่ยวกับเรื่องที่เขียน มีนิสัยที่ดีในการเขียน รักการเขียนและนำการเขียนไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-4
1.การฟัง เพื่อให้เข้าใจเรื่องที่ฟัง สามารถจับใจความสำคัญ คิดวิเคราะห์เกี่ยวกับเรื่องทีฟัง มีความชื่นชมต่อภาษาไทย และใช้ทักษะการฟังในการเพิ่มพูนความรู้ ความคิดมีนิสัยและมารยาทที่ดีในการฟัง หาความรู้และความบันเทิงจากการฟังได้
2.การพูด เพื่อให้มีความสามารถในการคิดลำดับเหตุการณ์ วิพากษ์วิจารณ์ สรุปความ   มีทักษะในการพูดสนทนา เล่าเรื่อง รายงาน อภิปรายและบรรยายความรู้สึก พูดสื่อความได้ชัดเจนถูกต้อง คล่องแคล่ว มีความชื่นชมต่อภาษาไทย มีมารยาทและบุคลิกที่ดี และใช้ทักษะการพูดเพื่อความบันเทิงได้
3.การอ่าน เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การอ่าน และสามารถนำไปใช้อ่านคำใหม่ๆ ได้ มีทักษะในการอ่านออกเสียงและการอ่านในใจ อ่านได้ถูกต้องชัดเจนคล่องแคล่วรวดเร็ว สามารถจับใจความสำคัญ คิดเชิงวิจารณ์และวิเคราะห์ใจความสำคัญ ปฏิบัติตนจนเป็นนิสัยที่ดีในการอ่าน การใช้พจนานุกรม การเลือก การใช้ การเก็บรักษาหนังสือ และการใช้ห้องสมุด ในการแสวงหาความรู้เพิ่มเติม และความเพลิดเพลินในยามว่าง และรักการอ่าน
4.การเขียน เพื่อให้มีทักษะในการเขียน เขียนได้ถูกต้อง รวดเร็วเป็นระเบียบสวยงาม แลและสื่อความได้ เขียนอย่างมีรูปแบบได้ สามารถคิดลำดับเหตุการณ์เกี่ยวกับเรื่องที่เขียน เขียนแสดงความนึกคิดอย่างเสรี และเขียนเชิงสร้างสรรค์ได้ มีนิสัยที่ดีในการเขียน รักการเขียนและนำการเขียนไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6
1.การฟัง เพื่อให้เข้าใจเรื่องที่ฟัง สามารถจับใจความสำคัญ คิดวิเคราะห์ หาหลักการ เจตนารมณ์ และนัยของข้อความและเรื่อง  มีความชื่นชมต่อภาษาไทย และใช้ทักษะการฟังในการเพิ่มพูนความรู้ ความคิด มีนิสัยและมารยาทที่ดีในการฟัง หาความรู้และความบันเทิงจากการฟังได้
2.การพูด เพื่อให้มีความสามารถในการคิดลำดับเหตุการณ์ วิพากษ์วิจารณ์ สรุปความ   มีทักษะในการพูดประเภทต่างๆ พูดสื่อความได้ชัดเจนถูกต้อง คล่องแคล่วและมีวิจารณญาณในการใช้คำพูดได้ถูกต้องเหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล กล้าพูด และสารถใช้คำพูดในการติดต่อสื่อสารด้านมนุษย์สัมพันธ์ และธุรการงานได้ มีความชื่นชมต่อภาษาไทย มีมารยาทและบุคลิกที่ดี และใช้ทักษะการพูดเพื่อความบันเทิงได้
3.การอ่าน เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การอ่าน มีทักษะในการอ่านออกเสียงและการอ่านในใจ คล่องแคล่วรวดเร็ว สามารถถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกจากเรื่องราวที่อ่านได้ สามารถจับใจความสำคัญ คิดเชิงวิจารณ์และวิเคราะห์ใจความสำคัญ ปฏิบัติตนจนเป็นนิสัยที่ดีในการอ่าน การใช้พจนานุกรม การเลือก การใช้ การเก็บรักษาหนังสือ และการใช้ห้องสมุด ในการแสวงหาความรู้เพิ่มเติม และความเพลิดเพลินในยามว่าง และรักการอ่าน
4.การเขียน เพื่อให้มีทักษะในการเขียน เขียนได้ถูกต้อง รวดเร็วเป็นระเบียบสวยงามและสื่อความได้ เขียนอย่างมีรูปแบบได้ สามารถคิดลำดับเหตุการณ์เกี่ยวกับเรื่องที่เขียน เขียนแสดงความนึกคิดอย่างเสรี และเขียนเชิงสร้างสรรค์ได้ มีนิสัยที่ดีในการเขียน รักการเขียนและนำการเขียนไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
การเรียนการสอนภาษาไทยมุ่งให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทางภาษาทั้งในด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียน ตามสมควรแก่วัย เห็นคุณค่าของภาษา สามรถใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อความคิด ความเข้าใจ รักการอ่าน แสวงหาความรู้ และมีเหตุผล จากจุดมุ่งหมายของหลักสูตรประถมศึกษาดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่านักเรียนประถมศึกษาจะต้องมีความรู้ความเข้าใจหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการอ่านและการเขียน เป็นพื้นฐานของการเรียนภาษา
การเขียน เป็นทักษะการแสดงออกที่สำคัญแทนคำพูด นอกเหนือไปจากประโยชน์ในชีวิตประจำวันแล้ว ในการเรียนการสอนเกือบทุกวิชา ต้องอาศัยการเขียนเพื่อบันทึกเพื่อรวบรวมถ้อยคำของครูของเพื่อน หรือของวิทยากร เพื่อรายงานหรือย่อสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง และฝึกเขียนตอบปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะการเขียนคำตอบในเวลาทดสอบนับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ  ดังนั้นการเขียนจึงเป็นรากฐานในการเรียนวิชาต่างๆ การเขียนในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็นการเขียนข้อความประโยค กลุ่มคำ วลี จะต้องเขียนให้ถูกต้องตามอักขรวิธี ถ้าหากเขียนคำผิดพลาด คลาดเคลื่อนหรือบกพร่องไปจะทำให้ความหมายของคำเปลี่ยนไป ผู้สื่อและผู้รับจะสามารถสื่อความหมายได้ตรงกัน และบางครั้งทำให้เข้าใจความไขว้เขวไปได้
            1.1.2 หลักสูตรวิชาภาษาอังกฤษ
วัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในระดับประถมศึกษาเป็นการเรียนภาษาอังกฤษในระดับต้น มีดังนี้
1.เพื่อให้มีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตามหลักภาษา และเหมาะสมกับวัฒนธรรม
2.เพื่อให้มีความรู้ความสมารถในการใช้ภาษาอังกฤษในระดับต้นเพียงพอเพื่อการศึกษาต่อ หรือนำไปใช้ในการประกอบอาชีพตามความจำเป็น
3. เพื่อให้มีความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารในสถานการณ์ง่ายๆ ที่เป็น สถานการณ์จำลองหรือสถานการณ์จริง
4.เพื่อให้มีความรู้และความเข้าใจวัฒนธรรมภาษาอังกฤษ
5. เพื่อให้มีนิสัยรักการแสวงหาความรู้เพิ่มเติมด้วยการอ่านหนังสือภาษาอังกฤษ และด้วยสื่อภาษาอังกฤษอื่นๆ
6. เพื่อให้มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนภาษาอังกฤษ เห็นประโยชน์ และคุณค่าของภาษาอังกฤษ
กรมวิชาการ (2539) ได้เสนอแนะแนวการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตามหลักสูตรนี้ มุ่งให้ผู้เรียนมีความสามารถในการสื่อสารควบคู่กัน 2 ด้าน คือ ความสามารถในการใช้ภาษา เพื่อเข้าสู่สังคมและวัฒนธรรม และความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อสื่อความได้ถูกต้องตามหลักภาษาและเหมาะสมกับสถานการณ์การใช้ โดยมีแนวหลักดังนี้
1.จัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
2.จัดการเรียนการสอนภาษาด้วยกิจกรรมที่มีความหมายและหลากหลาย ฝึกการสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆ เอให้เกิดความสามารถในการใช้ภาษาในสถานการณ์จริง
3.ผู้เรียนได้ฝึกฝนการสื่อสารด้วยการฟังและการพูดในระดับเตรียมความพร้อม เพิ่มเติมการฝึกฝนการสื่อสารด้วยการอ่าน การเขียน การสะกดคำในระดับการอ่านออกเขียนได้ และฝึกฝนการส่งสารรับสารด้วยการฟัง พูด อ่าน และเขียน ในการเรียนภาษาอังกฤษระดับมาตรฐาน พื้นฐาน เป็นต้น
นอกจากนี้ กรมวิชาการได้เสนอแนะกระบวนการวัดและการประเมินผลเน้นการวัดความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ทั้งในด้านการใช้ภาษาเพื่อเข้าสู่สังคมวัฒนธรรม และการใช้ภาษาเพื่อสื่อความได้อย่างถูกต้องตามหลักภาษา และเหมาะสมกับสถานการณ์การใช้วัดทั้งความสามารถในการสื่อสารและความรู้ทางภาษา ผลของการวัดและการประเมินจะนำมาใช้ในการพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่องระดับเตรียมความพร้อม วัดและประเมินผลโดยการเน้นการประเมินพฤติกรรมการเรียนของผู้เรียนจากการเข้าร่วมกิจกรรม และความสามารถในการสื่อสารด้วยการฟัง และพูด ระดับการออกเสียงได้ วัดและประเมินจากความสามารถในการใช้ภาษาในด้านความเข้าใจ การฟัง พูด อ่าน เขียน และการสะกดคำ ส่วนระดับมาตรฐานพื้นฐานตอนต้น วัดความสามารถในการใช้ภาษา โดยประเมินผลภายหลังเรียน ประเมินทั้งภาคปฏิบัติ ภาคความรู้ และเจตคติ โดยเครื่องมือวัดและการประเมินที่หลากหลาย มีการวัดระดับมาตรฐานขั้นพื้นฐานทางภาษาของผู้เรียน โดยใช้แบบทดสอบความรู้ความสามารถ (Proficiency Test) สำหรับผู้สำเร็จการศึกษา
            การเรียนการสอนภาษาอังกฤษในระดับประถมศึกษา จะต้องเน้นการใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการปฏิบัติที่สำคัญ อันจะก่อให้เกิดความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารได้อย่างแท้จริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น